งานวิจัยในชั้นเรียน
การใช้แบบฝึกซ่อมเสริมทักษะการรับและส่งลูกบาสเกตบอล
_______________________________________________________
โดย
มิสชาณิดา มหาพรม
กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
ช่วงชั้นที่2
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่1
โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี
ปีการศึกษา 2552
PDF created with pdfFactory Pro trial version www.pdffactory.com
_________________________________________________________

                                                                     บทที่ 1
                                                                     บทนำ

ความเป็นมาและความสำคัญของงานวิจัย
ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาพลศึกษา (บาสเกตบอล) ช่วงชั้นที่2 โดยเฉพาะเรื่อง
ทักษะพื้นฐานในการรับและส่งลูกบาสเกตบอล ผู้ศึกษาพบว่านักเรียนที่สอนส่วนใหญ่โดยเฉพาะนักเรียน
หญิงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 ชมรมบาสเกตบอล จำนวน 10 คน ไม่สามารถปฏิบัติได้และเรียนรู้ได้ช้ากว่า
นักเรียนคนอื่น ๆ ขาดทักษะกระบวนการในการคิดรวบยอด ไม่เข้าใจความหมายและวิธีการต่าง ๆ ที่เป็น
พื้นฐานในการเรียนรู้เกี่ยวกับทักษะพื้นฐานในการรับและส่งลูกบาสเกตบอล ได้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนใน
แต่ละครั้งมักได้คะแนนต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดและถ้าไม่เร่งแก้ไขโดยด่วนจะมีผลกระทบต่อการเรียนรู้ใน
เนื้อหาอื่น ซึ่งจะต้องอาศัยการเชื่อมโยงจากความรู้เดิมเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้เนื้อหาใหม่ และนำไปสู่การ
เรียนรู้ในระดับชั้นที่สูงขึ้น

วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อพัฒนาแผนการเรียนทักษะการรับและส่งลูกบาสเกตบอลที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์
2. เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนเกี่ยวกับการเรียนรู้แบบฝึกเพื่อซ่อมเสริม

ทักษะการรับและส่งลูกบาสเกตบอล
ตัวแปรที่ศึกษา
ตัวแปรต้น
นักเรียนหญิงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 ชมรมบาสเกตบอล จำนวน 10 คน
ตัวแปรตาม
1. แบบฝึกเพื่อซ่อมเสริมทักษะการรับและส่งลูกบาสเกตบอล
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนเกี่ยวกับการเรียนรู้แบบฝึกเพื่อซ่อมเสริมทักษะการรับ
และส่งลูกบาสเกตบอล
PDF created with pdfFactory Pro trial version www.pdffactory.com
3. กรอบแนวคิดในการวิจัย



ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้
1. ทราบผลของการฝึกโดยใช้แบบฝึกเพื่อซ่อมเสริมทักษะการรับและส่งลูกบาสเกตบอล
2. ทราบรูปแบบการฝึกที่เหมาะสมสำหรับนักเรียน เพื่อพัฒนาทักษะเบื้องต้นในกีฬา
บาสเกตบอล อันเป็นทักษะสำคัญที่จะพัฒนาการเล่นในระดับที่สูงขึ้นต่อไป
3. นักเรียนหญิงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีท1ี่ ชมรมบาสเกตบอลของโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรีมี
ทักษะเบื้องต้นในกีฬาบาสเกตบอล
4. นักเรียนสามารถนำทักษะนี้ไปใช้ร่วมกับทักษะอื่นในการเล่นได้
5. เพื่อทราบจุดบกพร่องของแบบฝึกเพื่อซ่อมเสริมทักษะการรับและส่งลูกบาสเกตบอล ที่จะ
สามารถปรับปรุงแบบฝึกในการที่จะนำไปใช้ต่อไป

แบบฝึกเพื่อซ่อมเสริมทักษะการรับและส่งลูกบาสเกตบอล
-การส่งลูกสองมือระดับอก -การรับลูกสองมือระดับอก
-การส่งลูกสองมือเหนือศีรษะ -การรับลูกสองมือเหนือศีรษะ
-การส่งลูกกระดอนแบบสองมือ -การรับลูกแบบกระดอน
-การส่งลูกมือเดียวแบบกระดอน
-การส่งลูกมือเดียวเหนือศีรษะ

เกณฑ์การประเมิน
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนเกี่ยวกับการเรียนรู้แบบฝึก เพื่อซ่อม
เสริมทักษะการรับและส่งลูกบาสเกตบอล
PDF created with pdfFactory Pro trial version www.pdffactory.com


                                                                         บทที่2
                                                           วิธีการดำเนินการวิจัย
                                                           ขอบเขตของการวิจัย

1. กลุ่มเป้าหมาย
นักเรียนหญิง ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 ชมรมบาสเกตบอล ปีการศึกษา 2552 โรงเรียน
อัสสัมชัญธนบุรีที่มีทักษะพื้นฐานในการรับและส่งลูกบาสเกตบอล ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน
10 คน
2. ตัวแปรต้น
นักเรียนหญิงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 ชมรมบาสเกตบอล จำนวน 10 คน
3. ตัวแปรตาม
     1. แบบฝึกเพื่อซ่อมเสริมทักษะการรับและส่งลูกบาสเกตบอล
     2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนเกี่ยวกับการเรียนรู้แบบฝึกเพื่อซ่อมเสริมทักษะการรับ
และส่งลูกบาสเกตบอล

วิธีการดำเนินการวิจัย
ระยะเวลาในการดำเนินงาน
13 พฤศจิกายน 2552 – 19 กุมภาพันธ์2553

ขั้นตอนการดำเนินงาน
1. คัดเฉพาะนักเรียนที่มีทักษะการรับและส่งลูกบาสเกตบอล ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
2. ฝึกทักษะการรับและส่งลูกบาสเกตบอล หลังจากคาบกิจกรรมชมรม จำนวนทั้งหมด 13 ครั้ง โดย
เรียนสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ระยะเวลา 40 นาที
3. ทดสอบการฝึกทักษะการรับและส่งลูกบาสเกตบอลหลังจากคาบกิจกรรมชมรม (สัปดาห์ที่13)
4. สรุปผลการวิจัย (สัปดาห์ที่14)
PDF created with pdfFactory Pro trial version www.pdffactory.com

                                                                                        ตารางการดำเนินการวิจัย



PDF created with pdfFactory Pro trial version www.pdffactory.com
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. แบบฝึกทักษะที่สร้างขึ้นเพื่อสังเกตพฤติกรรมและการสอบปฏิบัติการฝึกทักษะการรับรับ-ส่งลูก
บาสเกตบอล
2. แบบประเมินเจตคติของนักเรียนที่มีต่อครูผู้สอนวิชาบาสเกตบอล
PDF created with pdfFactory Pro trial version www.pdffactory.com


                                                                                  บทที่ 3
                                                                               ผลการวิจัย

 สถิติที่ใช้ในการวิจัย
1. การหาค่าเฉลี่ย (X)
2. การหาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD)
3. สถิติT-Test

การวิเคราะห์ข้อมูล
จากการศึกษาวิจัยในชั้นเรียนได้ศึกษาในกลุ่มนักเรียนหญิง ชมรมบาสเกตบอล ระดับชั้น
มัธยมศึกษาปีที่1 ภาคเรียนที่2/2552 โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรีที่มีทักษะการรับ-ส่ง บาสเกตบอล ต่ำกว่า
เกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 10 คน ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาด้านทักษะการรับ-ส่ง บาสเกตบอลของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 ที่มีทักษะการรับ-ส่ง บาสเกตบอล ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ก่อน และหลังการฝึก มีความ
แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในรายการ 1.การส่งลูกสองมือระดับอก 2.การส่งลูกสอง
มือเหนือศีรษะ 3.การส่งลูกกระดอนแบบสองมือ 4.การส่งลูกมือเดียวแบบกระดอน 5.การส่งลูกมือเดียว
เหนือศีรษะ 6.การรับลูกสองมือระดับอก 7.การรับลูกสองมือเหนือศีรษะ 8.การรับลูกสองมือแบบกระดอน
PDF created with pdfFactory Pro trial version www.pdffactory.com
                                                 
                                                   แบบทดสอบการใช้แบบฝึกซ่อมเสริมทักษะการรับและส่งลูกบาสเกตบอล


จำนวนครั้ง/30 วินาที คะแนน
1-10 ต่ำ
11-20 ปานกลาง
21-29 ดี
30 ขึ้นไป ดีมาก
PDF created with pdfFactory Pro trial version www.pdffactory.com


                                                                           บทที่ 4
                                                                   สรุปผลการวิจัย
จากผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
จากการศึกษาวิจัยจะเห็นได้ว่านักเรียนหญิงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 ที่มีทักษะการรับ-ส่ง
บาสเกตบอลต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 10 คน หลังจากฝึกทักษะการรรับ-ส่ง บาสเกตบอล นักเรียนมี
การพัฒนาทักษะการรับ-ส่ง บาสเกตบอลที่ดีขึ้น จำนวน 10 คน สามารถพัฒนาทักษะการรับ-ส่ง
บาสเกตบอล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ข้อเสนอแนะจากงานวิจัย
1. ควรนำแบบฝึกซ่อมเสริมทักษะการรับและส่งลูกบาสเกตบอลไปฝึกให้นักเรียนกลุ่มที่สนใจ
เช่นการเรียนการสอนบาสเกตบอลในระดับชั้นอื่นๆ นักกีฬาบาสเกตบอลเป็นต้น
2. ควรมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างนักวิจัยกับครูพลศึกษาเพื่อหาแนวทางการพัฒนา
การวิจัยในชั้นเรียนทางพลศึกษา
3. ควรนำเครื่องมือ นวัตกรรมเทคโนโลยีที่ทันสมัย มาใช้และพัฒนารูปแบบการสอนทาง
พลศึกษา และงานวิจัย
PDF created with pdfFactory Pro trial version www.pdffactory.com

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้